Javascript Zero to Hero บทนำ EP1

Sharing is caring!

javascript มีอายุของภาษาก็ 25 ปีแล้ว ถือว่าเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมมายาวนาน ด้วยความสามารถที่เขียนไครเอนซ์ไซน์ (client side) และเซอร์เวอร์ไซต์ (server side) ทำให้ตัวภาษารับความนิยม จึงทำให้บริษัทเจ้าใหญ่ๆ ตั้งทีมงานเพื่อมาพัฒนา framework เพื่อเป็นกรอบการทำงานของการพัฒนาแอพพลิเคชั่น (application) ที่เป็นมาตรฐานที่เป็น standard แบบเดียวกัน เช่น React (facebook) , Angular (google) ,Vue (Evan U) เป็นต้น สิ่งที่มีเหมือนกันของแต่ละ framework คือ fundamental ของตัวภาษา javascript เอง ชุดบทความนี้จะพาทำความรู้จักภาษา javascript ตั้งแต่เริ่ม zero จนกระทั่งถึง hero คือสามารถนำไปใช้งานและพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้อย่างดีแน่นอน

ทำความรู้จักเครื่องมือ สิ่งที่ช่วยให้การเริ่มเขียน Javascript น่าสนุกมากยิ่งขึ้น

เครื่องมือที่เป็นเหมือนสิ่งที่แปล หรือแปลงโค๊ดของภาษา javascript มากกว่าให้สามารถทำงานได้มีหลัก ๆ อยู้ด้วยกัน 2 การคอมไพล์ (compile) ผ่านเครื่องมือเหล่านี้

  1. NodeJS Node.js® is a JavaScript runtime built on Chrome’s V8 JavaScript engine.
  2. Browser ต่าง ๆ ที่จะทำหน้าที่มี javascript runtime engine มาให้อยู่แล้ว เช่น Firefox , Safari ,Chrome แนะนำใช้งาน Google Chrome เพราะจะอัพเกรด version Javascript Engine ก่อน browser อื่น ๆ

console.log คืออะไร

เริ่มต้นก่อนที่จะพาไปรู้จักส่วนอื่น ๆ ในขั้นถัดๆ ไป ที่เรียกว่าขาดไม่ได้เลยคือการที่จะ debug หรือการที่จะแสดงผลลัพธ์ของตัวแปรที่เก็บอยู่ในโค๊ด การเรียกใช้งานคำสั่ง console.log(‘message or variable’)

console.log('Hello', 'World', '!')
console.log('HAPPY', 'NEW', 'YEAR', 2020)
console.log('Welcome', 'to', 'Zero', 'to', 'Hero')

การคอมเม้นท์ (comment)

การคอมเม้นท์ (comment code) คือการแทรกข้อความ หรืออื่น ๆ ที่ต้องการใส่ลงไปในไฟล์ของ โค๊ด javascript ที่ไม่ต้องการที่จะให้ javascript compile โค๊ดในส่งนี้เข้าไปในการทำงานของโปรแกรม จะไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม เพียงแต่จะมี text ข้อความแทรกอยู่ในไฟล์เท่านั้นเอง

ตัวอย่างการคอมเม้นท์ 1 บรรทัด
// This is the first comment
// This is the second comment
// I am a single line comment

ตัวอย่างการคอมเม้นท์ หลายบรรทัด
/_ This is a multiline comment
Multiline comments can take multiple lines
JavaScript is the language of the web
_/

การใช้เครื่องหมายดำเนินการทางคณิตศาสตร์

console.log(2 + 3) // Addition
console.log(3 - 2) // Subtraction
console.log(2 * 3) // Multiplication
console.log(3 / 2) // Division
console.log(3 % 2) // Modulus - finding remainder
console.log(3 ** 2) // Exponentiation 3 ** 2 == 3 * 3

แนวทางการเขียน Javascript Code ต่าง ๆ บนหน้าเว็บ

แนวทางการเขียนโค๊ด javascript กับหน้าเว็บไซต์ในรูปแบบต่าง ๆ หลัก ๆ มีด้วยกัน 4 แนวทางคือ

  • inline script การแทรก javascript ใน tag html เป็นการเขียนที่ง่ายที่สุด ตัวอย่าง
<!DOCTYPE html>
<html>
  <head>
    <title>Javascript Zero to Hero:Inline Script</title>
  </head>
  <body>
    <button onclick="alert('Welcome to Javascript Zero to Hero!')">Click Me</button>
  </body>
</html>
  • internal script การเขียนแทรก javascript code ในไฟล์ html โดยคำสั่งต่าง ๆ จะถูกเขียนอยู่ใน tag <script> </script>
<!DOCTYPE html>
<html>
  <head>
    <title>Javascript Zero to Hero:Internal Script</title>
    <script>
      console.log('Welcome to Javascript Zero to Hero')
    </script>
  </head>
  <body></body>
</html>
  • external script การเขียนโค๊ด javascript แยกเป็นอีก 1 ไฟล์ (นามสกุล .js) จากนั้นเรียกใช้งานเข้ามาในไฟล์ html ด้วยคำสั่ง <script src=”?”/>
    index.js
console.log('Welcome to Javascript Zero to Hero')

index.html

<!DOCTYPE html>
<html>
  <head>
    <title>Javascript Zero to Hero:External script</title>
    <script src="index.js"></script>
  </head>
  <body></body>
</html>

Javascript Data Type ต่าง ๆ

ในภาษา javascript จะเรียกเป็นรูปแบบ Dynamic Type ความหมายคือเป็นการกำหนด type ที่สามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา โดยมีการกำนด type อยู่ด้วยกันหลัก ๆ ตามนี้ String, Number, Boolean, undefined, Null, and Symbol.

String

'Poolsawat'
'Apin'
'Javascript Zero to Hero'

Number

Integers: Integer (negative, zero and positive) numbers Example: ... -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3 ...
Float-point numbers: Decimal number Example ... -3.5, -2.25, -1.0, 0.0, 1.1, 2.2, 3.5 ...

Boolean

True/true , False/false

Undefined

let name;
console.log(name) // undefined

Null

let emptyValue = null

การตรวจสอบประเภท หรือชนิดของตัวแปร

จะมีคำสั่งที่ช่วยให้ทราบได้ว่าตัวแปรที่สร้างขึ้นถูกกำหนดชนิดข้อมูลเป็นอะไร โดยจะมีการคืนค่าเป็นชื่อของชนิดข้อมูลนั้น ๆ เช่น

console.log(typeof 'Poolsawat') // string
console.log(typeof 5) // number
console.log(typeof true) // boolean
console.log(typeof null) // object type
console.log(typeof undefined) // undefined

การประกาศตัวแปร และการกำหนดขอบเขตของการเข้าถึง

ภาษา javascript จะมีการกำหนดประเภทตัวแปร โดยมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ

Var การกำหนดประเภทตัวแปรที่เป็นระดับ global ที่จาก function หรือ condition ไหน ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้สามารถ assign value ได้

var name = 'Poolsawat' , lname = 'Apin'
var age = 99
var isMale = true

Const การกำหนดประเภทตัวแปรที่จะคล้ายกับ Var แต่จะไม่สามารถ assign value ใหม่ให้ได้ แต่จะมี scope ที่แคบกว่า var

const name = 'Poolsawat' , lname = 'Apin'
const age = 99
const isMale = true

Let การกำหนดประเภทข้อมูลในระดับที่แคบมาก ๆ สามารถ assign value ใหม่ได้ สามารถกำหนดชื่อซ้ำกันได้ แต่อยู่คนละ statement code ได้

let name = 'Poolsawat' , lname = 'Apin'
let age = 99
let isMale = true
if (age == 99 ){
    isMale = false
}

สรุปท้ายบทความ

จากบทความนี้จะเป็นการปูพื้นฐานก่อนเริ่มการเขียน javascript ในบทถัด ๆ ไปสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องจดจำและฝึกฝนเขียนให้จำได้ เพราะในบทความต่อ ๆ ไปจะเจอคำสั่งหรือเรื่องจากบทความนี้เยอะมาก สำหรับการทดสอบเรียกคำสั่งแบบง่ายที่สุด เพียงแต่เปิด browser chrome กด F12 เลือกไปที่ tab console จากนั้นพิมพ์ console.log(‘message ‘); กด enter ผลลัพธ์ก็จะแสดงทันที บทความถัดไปจะมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องอะไรคอยติดตามกันด้วยนะครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *