สรุปสิ่งที่ได้รับจากงาน Google I/O Extended Bangkok

Sharing is caring!

สด ๆ ร้อนกับงานสัมมนาครั้งใหญ่ประจำปีเลยก็ว่าได้สำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่จัดขึ้นเป็นประจำของทุก ๆ ปี ในเมืองไทยจัดสัมนางาน Google I/O นี้มาแล้ว 9 ครั้ง และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 10 แล้ว แต่ละครั้งจัดได้ยิ่งใหญ่ทุกครั้ง

กำหนดการของงานจัดในวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 9.00 – 18.30 น.
สถานที่ ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย สยามพารากอน ชั้น 6

โดยมีเงื่อนไขการเข้าร่วมงานว่า
800 ท่านแรกที่ลงทะเบียนรับป้ายชื่อหน้างานจะได้รับ Google Cardboard
600 ท่านที่ลงทะเบียนรับป้ายชื่อถัดไปจะได้รับเสื้อ Google I/O

เมื่อได้เวลาก็เริ่มทะเบียนกัน

P6250351 P6250356

P6250360

ลงทะเบียนเสร็จ ได้เวลาเริ่มงานก็เริ่มทยอยเดินเข้าร่วมงาน

P6250368

P6250369

เมื่อผู้เข้าร่วมงานทุกคนพร้อมผู้บรรยายพร้อมก็เริ่มงานกันเลย

การเปิดงานในครั้งนี้ได้รับเกียติจาก Mr. Soonson Know ที่ทำหน้าที่ดูแล Google Developer ในส่วน South Asia ทั้งหมด (ลองคิดดูว่ากว้างใหญ่ขนาดไหน ผมว่าสุดยอดมาก)




ผ่านไปก็แนะนำสปอนเชอร์ใหญ่ของงานนี้ บริษัท กสิกร บิสซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KASIKORN Business-Technology Group: KBTG) เป็นกลุ่มบริษัทที่อยู่ในเครือข่ายของกสิกรไทย เน้นไปทางพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ รองรับการทำงานในอนาคต เมื่อสปอนเชอร์ใหญ่กว่าจบก็เริ่มเข้าเนื้อหาหลักของงานนี้คือเทคโนโลยี Mobile App &  Web App โดยทางทีมงานจะแบ่งการบรรยายออกเป็น 2 ห้องโดยแบ่งเป็น ห้องบรรยายหลักจะบรรยายเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสายการพัฒนา Mobile Platform โดยเฉพาะ ให้ชื่อว่าห้อง Auditorium โดยมีหัวข้อการบรรยายหลัก ๆ ดังนี้

  • What’s  New In Android N
  • Android Studio 2.2 & New UI Design โดยแบ่งเรื่องสิ่งที่ปรับปรุงใหม่ได้ดังนี้
    • Design
      • ปรับปรุงเรื่อง Layout Editor ซึ่งทำให้การออกแบบ UI ของ APP ง่าย สะดวกและรวดเร็วขึ้น ปรับปรุงเรื่อง Responsive เพื่อให้การพัฒนาสำหรับ UI Device ที่มีหลายขนาดทำได้งานยิ่งขึ้น และตบท้ายด้วย
      • Layout Inspector ทำให้เราสามารถมอง object ที่วางแบบ grid layout งานต่อการตรวจสอบ
    • Develop
      • Firebase plugin ช่วยทำให้การพัฒนา App ให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นในด้านการใช้งานข้อมูลต่าง ๆ
      • Sample code browser ช่วยให้นักพัฒนาดูตัวอย่างโค๊ดที่ทางทีมพัฒนาส่วนใหญ่เคยนำ Class หรือ Method นี้ไปใช้งานอย่างไร (ผมว่ามันค่อนข้างจะช่วยเราได้เยอะมากเลย)
    • Build
      • Instant Run ช่วยปรับปรุงเรื่องการทำงานนี้เพื่อช่วยให้การ build project รวดเร็วขึ้น (เร็วขึ้นหลายเท่าจริง ๆ เห็นมากับตาผมเลย)
      • Merge Manifest Viewer จะเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบ Code ในส่วนไฟล์ AndroidManifest.xml ว่าส่วนที่ import เข้ามาใช้งานได้ถูกเรียกใช้งานที่ method การทำงานใด
      • Project Structure Dialogue, Jack compiler
    • Test
      • ปรับปรุง Android Emulator ที่ใน Version ก่อน ๆ ถือว่าทำได้ช้ามาก ๆ จนต้องไปพึ่งพา Tools อื่น ๆ อย่าง Genymotion แต่มาเวอร์ชั่นนี้ทำงานได้เร็วกว่าเดิมหลายเท่าตัว (น่าจะทวงตำแหน่งคืนได้แน่ ๆ)
      • Espresso Test Recorder เป็น Android Test UI ที่จะแปลงผลการทดสอบจากการทำปฏิสัมพันธ์กับหน้าจอ และ จะแปลงเป็นผลการทดสอบของ Espresso สามารถติดตามผลได้จาก Firebase API ได้เลย
  • Play Store Best Practices การจัดการพื้นที่ทำเงินของเราอย่าง Google Play โดยยอดนักการตลาดที่พัฒนาเกม Unlock Me ทำยอด Download กว่า 140 ล้านครั้งแล้วนะตอนนี้
  • Advanced Espresso
  • Introduction to Firebase คือ Real Time App Platform คือให้บริการ API สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Real Time รองรับหลาย Platform สามารถเขียนได้หลายภาษา
  • Firebase Cloud Messaging
  • Firebase Android Codelab
  • VR at Google

และห้องบรรยายอีกห้องเน้นหนักไปทาง Web Platform ให้ชื่อห้องว่าห้อง Workshop Room มีหัวข้อบรรยายดังนี้ (ข้อเสียอย่างเดียวของห้องนี้คือ รองรับคนเข้าอบรมได้ 100 กว่า ที่ เท่านั้น )

  • Deep dive into Processive Web Apps (PWA) เป็นแนวทางการทำเว็บ ให้ออกมาเหมือน App กล่าวคือ offline ก็ยังทำงานอยู่บน Browser
  • Polymer & Progressive Web Apps Building on the modern web เน้นหนักไปทาง Coding เลย
  • Having some fun with angular 2 and Firebase
  • Service Worker session
  • Firebase Build a RealTime Web Chat Apps
  • Build a PWA with Firebase, Polymerfire And Polymer Component Codelab
  • Introduction To UX
  • Introduction To GCP & Machine Learning

สำหรับตัวผมเองก็เกิดความสนใจในด้านเว็บเป็นพิเศษเลยเข้าร่วมห้อง Web Apps Room แต่ด้วยขนาดห้องที่รองรับคนได้น้อยจึงอยู่ได้ไม่จบงาน จึงขอเอาหัวข้อมาให้ทุกคนได้เอาไปเป็นแนวทางค้นหาข้อมูลต่อไปได้